ศิลปะหัตถกรรมพื้นถิ่นชาวลับแล

4
452
กระชอนรดน้ำ หัตถกรรมที่ใช้ในเกษตรกรรม เป็นภาชนะสานด้วยตอก ใช้สำหรับตักน้ำรดต้นหอมหรือพืชผักอื่น ๆ ที่ปลูกยกร่อง บางที่เรียกว่ำ “ชงโลงรดน้ำหอม” ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเป็นหลัก ช่วงเวลาว่างอาจปลูกพืชผักประเภทหอม กระเทียม ผักกาด ผักคะน้ำ ผักชี เป็นต้น การปลูกต้นหอมเป็นอาชีพหนึ่งที่สำคัญของชาวลับแล..
สมัยก่อนเมื่อปลูกต้นหอมแล้วจะใช้กระชอนรดน้ำตักวิดรดต้นหอม จนกระทั่งหัวหอมโตจึงหยุดรดน้ำ โดยจะสานที่ตักน้ำด้วยตอกไม้ไผ่เว้าลึกลงไปมีมุมเป็นสามเหลี่ยมสานตอกด้วยลายสองหรือลายขัด ใช้ซีกไม้ไผ่เป็นขอบถักหวายรัดให้แน่นซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หัวแมลงวัน” ขอบกระชอนด้านบนสานตอกหักเป็นมุมสามเหลี่ยมผูกมัดกับด้ามไม้ไผ่กระชอนส่วนใหญ่กว้าง 20 ซม. ยาว 30 ซม. ตัดไม้ไผ่ลำเล็ก ยาว 2 ม. เหลาให้เรียบทำเป็นด้าม ใช้เส้นหวายผ่าซีกสอดร้อยยึดด้ามไม้ไผ่จนแน่น กระชอนรดน้ำไม่ต้องชันยา เวลใช้จะจับด้ามโดยให้ปากกระชอนตักน้ำรดแต่ละแถว ปัจจุบันยังมีการใช้กันที่อำเภอแลับแลอยู่บ้าง แต่ขณะนี้เริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะการปลูกพืชผักและต้นหอมจะใช้เครื่องสูบน้ำต่อสายยางมีหัวฉีดรดน้ำสะดวกสบายกว่าการใช้กระชอนรดน้ำในสมัยก่อนมาก
13 ก.พ. 2566